8/27/2007

sequence ( background color )

การทดลองสีพื้นหลังของ timebase media



*สีที่ได้เลือกมาในการทดลองสีพื้นหลังนี้เป็นสีที่ดูไม่ฉูดฉาดมากเกินไป* จากที่ได้ดูสีพื้นหลังแล้วก็เห็นสมควรว่า ควรที่จะเป็นสีที่ธรรมดา เพราะจะได้ไม่มีผลรบกวนต่อการชมภาพเคลื่อนไหว สีที่เลือกมีอยู่ประมาณ 2 สี คือ สีเทาเข้ม และ สีขาว ซึ่งเป็นสีที่ดูธรรมดา ไม่รบกวนการมองจนมากเกินไป

8/20/2007

sequence ( การเข้ารหัส หรือ login )

:: login ::
การเข้ารหัส หรือ login นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง เป็นการตอบปัญหาข้อสงสัยของผมเองที่ได้ตั้งข้อสงสัยจากครั้งก่อนในเรื่อง " เมื่อจำรหัสได้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ( ในอีกรูปแบบหนึ่ง )และตอบข้อสงสัยอีกข้อหนึ่ง คือ การที่เชื่อมความจำหนึ่งไปอีกความจำหนึ่งจะมีตัวเชื่อมเป็นในรูปแบบไหนได้บ้าง" ในรูปแบบตัวเชื่อมนี้อาจไม่จำเป็นที่จะเป็นการใส่รหัสตัวเลขเพียงอย่างเดียว อาจเป็นตัวอักษรหรือคำที่ให้ผู้ชมได้จำก็เป็นได้
ทำไมต้องเลือกการ login ( การเข้ารหัส )
1. เสมือนการปลด lock เพื่อนำไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง
2. เป็นเหมือนการตรวจสอบความจำที่ได้มานั้นว่าถูกต้องหรือไม่
*เป็นการตอบข้อสงสัยของผมที่ได้ตั้งไว้ ก็เหมือนเดิมครับถ้าเข้าใจถูกก็ถูกอ่ะครับ*

sequence ( รูปแบบแผนงาน )

:: การวางรูปแบบงาน ::
หลังจากที่ผมได้ทำการทดลอง เรื่องการบิดเบือนความจำ ผมก็กลับไปที่การตั้งสมมุติฐานครั้งแรกที่ว่า " การที่จะเกิดความจำทั้งระยะสั้นและยาวได้นั้นต้องมีระบบของ sequence คือ ภาพ ( สิ่งเร้า ) ------------ ตา ------------ สมอง ( ระบบของสมอง )แล้วถ้าผมมีการแทรกข้อมูลหรือรูปแบบใดก็ตามจะสามารถบิดเบือนความจำได้ไหม "
diagram การวางรูปแบบงานคร่าวๆ

เมื่อคนดูได้ชมแล้วก็จะเกิดผลที่คาดไว้ 2 ลักษณะ ( ถ้าไม่ผิดพลาด ) คือ
1. คนดูที่สามารถจำข้อมูลที่ให้ดูได้
2. คนดูที่ไม่สามารถจำข้อมูลที่ให้ดูไม่ได้ หรือ จำได้บางตัว
ดังนั้นรูปแบบที่ต้องการสื่อออกมานั้นจะต้องมี 2 ทางเลือกด้วยกันคือ เมื่อคนดูที่จำได้แล้วจะมีการใส่รหัส หรือ การ login ก็จะมีผลต่อเนื่องคือให้ดูงานและจำไปเรื่อยๆและใส่รหัสต่อไปจนถึงตอนจบที่จะมีรูปแบบหนึ่งที่เตรียมไว้ ( ยังไม่แน่ใจกับตอนจบ )กับอีกทางหนึ่งที่ผู้ชมไม่สามารถจำได้ หรือจำได้เพียงบางตัวก็จะมีการ login เหมือนกันแต่ว่าจะมีการหลอกล่อให้ดูและใส่ต่อไปเรื่อยๆเหมือนกับว่าคนที่ดูนั้นจำได้หรือใส่ login ได้ถูกต้องแต่เมื่อถึงตอนท้ายก็จะมีการเฉลยว่า " การใส่login หรือ การจำของคุณนั้นผิดพลาด " และก็จะมีรหัสที่ถูกต้องเฉลยออกมาตอนท้ายของงาน
การที่งานจบแบบนี้เป็นการตอบข้อสมมุติฐานที่ผมได้ตั้งไว้ในตอนแรก ( ถ้าไม่ผิดก็คงถูกอ่ะคับ )แต่เรื่องการเขียนโปรแกรมกับรหัส login ที่จะให้คนดูได้มีการร่วมในตัวงานด้วยนั้นต้องขอเวลาไปศึกษาสักนิด ( ถ้าทำได้ก็คงสนุกอ่ะคับ )
*รูปแบบของงานชิ้นนี้เป็นการวางแผนงานแบบยังไม่สมบูรณ์ อาจจะมีรูปแบบอื่นที่ดูลงตัวและสมเหตุสมผลมากกว่านี้ก็คงต้องทดลองต่อไปครับ*

8/18/2007

sequence ( การทดลองครั้งที่ 3.1 )

งานทดลอง การบิดเบือนความจำในอีกรูปแบบ

*วันนี้เป็นโอกาสที่ดี ( มั้ง ) เพราะผมได้ไปบ้านเพื่อนจึงมีโอกาสได้ อัพโหลดไฟล์วีดีโอซักที ต้องขอบคุณเพื่อนผมที่มีอุปการะกับผมในการอัพโหลดไฟล์วีดีโอชิ้นนี้ครับผม*
งานทดลองชิ้นนี้เป็นงานทดลองเรื่องตัวเลขอีกครั้งหนึ่งในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม ( นิดหน่อย )เป็นการทดลองเรื่องขนาดของตัวเลข และการเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนจงใจให้จำตัวเลขนั้นๆ และลองปรับเรื่องความเร็วของตัวเลข ตัวเลขที่นำมาเป็นเบอร์โทรศัพท์ ( หยิบยกเรื่องของชีวิตประจำวัน )
หลังจากที่ให้คนได้ดูงานทดลองชิ้นนี้แล้วจึงเกิดคำถามขึ้นอีกว่า
- การที่ตั้งโจทย์ขึ้นมาก่อนที่จะได้รับชมนั้นมีเจตนาบังคับให้ผู้ชมจำ เป็นสาเหตุให้ผู้ชมมีการเลือกที่จะจำรึเปล่า
เป็นอีกสาเหตุที่ต้องปรับปรุง ( รึเปล่า ) ครับ

8/17/2007

sequence ( การทดลองครั้งที่ 2.1 )

:: การทดลองบิดเบือนความจำต่อจากตัวเลขเป็นการทดลองบิดเบือนความจำเรื่องตัวอักษร ::

การทดลองนี้ใช้หลักการทดลองแบบเดียวกับตัวเลข คือ การใช้ช่วงจังหวะเวลาในการเปลี่ยนแต่คราวนี้เป็น ตัวอักษรแทน ผมเลยใช้ชื่อของคน ( เป็นเรื่องใกล้ตัว ) มาทดลองดูว่า ถ้าคนได้ดูการเปลี่ยนจังหวะของตัวอักษรนี้แล้วคนที่ดูจะสามารถอ่านชื่อทั้ง 2 ชื่อได้หรือไม่
*ชื่อที่นำมาใช้นั้นจะมีการใช้ช่วงจังหวะของเวลาในการเปลี่ยนตัวอักษรให้อ่านเป็นอีกชื่อหนึ่งในบางครั้งตามช่วงจังหวะนั้นๆ*
*ภาพเฉลยชื่อทั้ง 2 ชื่อในตอนจบ*

:: ผลของการทดลอง ::
การทดลองนี้ได้ให้คนดูประมาณ 5 คน ทั้งหมด 5 คนนั้นจำได้หมด
เหตุผล
1. เป็นชื่อที่จำได้ง่าย
2. การเรียงคำในบางจังหวะสามารถอ่านและจับใจความได้
สิ่งที่ต้องควรแก้ไข
1. น่าจะมีการทดลองแก้ไขขนาดของตัวอักษรให้แตกต่างกัน และรูปแบบที่ต่างกัน เพื่อการบิดเบือนที่มากขึ้น
2. ตั้งคำถามกับโจทย์ในสิ่งนั้นใหม่
*ผลของการทดลองชิ้นนี้เป็นที่ไม่น่าพอใจนัก แต่ก็ได้รู้ว่าควรทำวิธีไหนต่อไปและแก้ไขอย่างไร ( หรือเปล่า )*

8/16/2007

sequence ( ย้อนกลับทำความเข้าใจ )

:: ย้อนกลับทำความเข้าใจ ::
หลังจากที่ผมได้ทำงานการทดลอง เรื่อง การบิดเบือนระบบความจำได้ซักระยะหนึ่งผมก็กลับไปศึกษาเรื่องระบบความจำใหม่อีกครั้งเพื่อหาประเด็นมาทำงานต่อ พอได้ศึกษาระบบ ความจำอีกครั้งก็พบว่าความจำที่จำเป็นต่อคนเราอย่างหนึ่งคือ สิ่งที่ใกล้ตัว และสิ่งรอบตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ , ชื่อคนที่รู้จัก , โฆษณาตามท้องถนน ( เบอร์ติดต่อกับสื่อนั้นๆ หรือส่วนที่เป็นข้อมูล ) , แผนงานในแต่ละวัน สิ่งเหล่านี้น่าจะนำมาใช้เป็นประเด็นในงานทดลองเกี่ยวกับเรื่องระบบความจำได้ในส่วนหนึ่ง ( หรือไม่ ) ต่อจากนี้ก็จะนำเรื่องราวใกล้ตัวมาทำออกมาพัฒนาเป็นงานทดลองชิ้นต่อไป

8/14/2007

sequence ( การทดลองครั้งที่ 1.3 )

การทดลองการเคลื่อนไหวของตัวเลข ( อีกครั้ง ในอีกรูปแบบหนึ่ง )

การทดลองครั้งนี้เป็นการทดลองการการเคลื่อนไหวของตัวเลขในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ ช่วงจังหวะการปรากฏต่างไปจากเดิมโดยที่ จากเดิมการปรากฏของตัวเลขเป็นการเรียงลำดับ แต่ถ้าตัวเลขที่ปรากฏนั้นเกิดมีตัวเลขหนึ่งปรากฏขึ้นมาก่อนลำดับนั้น จะทำให้เกิดการบิดเบือนรึเปล่า
การค้นพบช่วงจังหวะ
- จังหวะของช่วงเวลาในการปรากฏตัวเลขที่ส่งผลกระทบต่อการมองของมนุษย์ ประมาณ 4 วินาที/หนึ่งตัวเลข ( เป็นการประมาณค่าของช่วงเวลาในการทดลองอาจจะไม่ตรงตามนี้ก็เป็นได้ )
*ขออภัยมา ณ ที่นี้ ผมจะหาวิธีอัพโหลดไฟล์วีดีโอขึ้นในภายหลัง*

8/06/2007

sequence

จากที่ได้ทำการทดลองไปเรื่อยๆ ก็เกิดข้อสงสัยขึ้นมาอีกครั้งว่าถ้าตัวเลขไม่ได้เรียงเป็นแนวนอนในบรรทัดเดียวกันนั้น จะเพิ่มการบิดเบือนความจำของมนุษย์ได้มากขึ้นรึเปล่า ?
:: การทดลองภาพเคลื่อนไหวของตัวเลข ::

จากที่ได้ทดลองมา และให้คนดูภาพเคลื่อนไหวแล้วผลของการทดลอง คือ มีการทำให้บิดเบือนมากขึ้นกว่าเดิม ( แต่มันจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องให้ตัวเลขไม่อยู่ในบรรทัดเดียวกัน ) และเมื่อได้สิ่งนี้มาจะนำไปเชื่อมต่อกับสิ่งไหนได้บ้าง , มีเหตุและผลอะไรรองรับสิ่งนี้ได้บ้าง ( ก็คงต้องทดลองกันต่อไปเรื่อยๆก่อนนะครับ )

sequence

:: งานทดลองเกี่ยวกับการบิดเบือนระบบความจำระยะสั้นโดยใช้ ภาพเคลื่อนไหวของตัวเลข ::

การทดลองเกี่ยวกับการบิดเบือนระบบความจำระยะสั้นที่ใช้ตัวเลขจาก รหัสของบัตรเติมเงินโทรศัพท์ เป็นการทดลองว่าตัวเลขที่เห็นจากการเคลื่อนไหวและ การทิ้งช่วงจังหวะของการเคลื่อนไหวในแต่ละหมายเลขจะทำการบิดเบือนกับระบบความจำของมนุษย์ได้หรือไม่?
:: ภาพเคลื่อนไหวของตัวเลข ::

จากที่ให้คนดูภาพเคลื่อนไหวของตัวเลขนี้แล้วผลของการทดลอง คือ การทิ้งช่วงระยะเวลาและการเน้นย้ำหรือการแช่จังหวะเวลาเปลี่ยนตัวเลขมีผลต่อการสังเกตและจดจำของมนษย์ ( บิดเบือนความจำของมนุษย์ )

sequence

:: ข้อสงสัย ::
จากการที่ได้ทดลองเรื่องการบิดเบือนกับระบบความจำของมนุษย์
- การที่ได้รูปแบบนั้นมาแล้วจะทำเป็นเรื่องอะไรต่อ และเมื่อคนดูจำรหัสหรือตัวเลขนั้นได้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น
- รหัสที่ให้คนดูจำนั้นมีความสำคัญอย่างไร และมีความจำเป็นต้องจำรหัสนั้นหรือไม่
- การเชื่อมต่อของการจำรหัสหนึ่งเพื่อนำไปสู่การจำอีกรหัสหนึ่งจะมีตัวอะไรเชื่อมต่อได้บ้าง
- ทำไมต้องเป็นรหัสตัวเลข หรือหมายเลข จะเป็นรูปแบบของการจำแบบอื่นๆได้หรือไม่
- ประเภทรูปแบบของตัวอักษรมีผลต่อการจำด้วยรึเปล่า
จากข้อสงสัยที่เกิดขึ้นมาทำให้ต้องการที่จะหาเหตุและผลมารองรับการนำเสนอเรื่องของการบิดเบือนความจำในครั้งต่อไป ( อาจจะมีข้อสงสัยเพิ่มขึ้นรึเปล่า )