:: การวางรูปแบบงาน ::
หลังจากที่ผมได้ทำการทดลอง เรื่องการบิดเบือนความจำ ผมก็กลับไปที่การตั้งสมมุติฐานครั้งแรกที่ว่า " การที่จะเกิดความจำทั้งระยะสั้นและยาวได้นั้นต้องมีระบบของ sequence คือ ภาพ ( สิ่งเร้า ) ------------ ตา ------------ สมอง ( ระบบของสมอง )แล้วถ้าผมมีการแทรกข้อมูลหรือรูปแบบใดก็ตามจะสามารถบิดเบือนความจำได้ไหม "
diagram การวางรูปแบบงานคร่าวๆ
เมื่อคนดูได้ชมแล้วก็จะเกิดผลที่คาดไว้ 2 ลักษณะ ( ถ้าไม่ผิดพลาด ) คือ
1. คนดูที่สามารถจำข้อมูลที่ให้ดูได้
2. คนดูที่ไม่สามารถจำข้อมูลที่ให้ดูไม่ได้ หรือ จำได้บางตัว
ดังนั้นรูปแบบที่ต้องการสื่อออกมานั้นจะต้องมี 2 ทางเลือกด้วยกันคือ เมื่อคนดูที่จำได้แล้วจะมีการใส่รหัส หรือ การ login ก็จะมีผลต่อเนื่องคือให้ดูงานและจำไปเรื่อยๆและใส่รหัสต่อไปจนถึงตอนจบที่จะมีรูปแบบหนึ่งที่เตรียมไว้ ( ยังไม่แน่ใจกับตอนจบ )กับอีกทางหนึ่งที่ผู้ชมไม่สามารถจำได้ หรือจำได้เพียงบางตัวก็จะมีการ login เหมือนกันแต่ว่าจะมีการหลอกล่อให้ดูและใส่ต่อไปเรื่อยๆเหมือนกับว่าคนที่ดูนั้นจำได้หรือใส่ login ได้ถูกต้องแต่เมื่อถึงตอนท้ายก็จะมีการเฉลยว่า " การใส่login หรือ การจำของคุณนั้นผิดพลาด " และก็จะมีรหัสที่ถูกต้องเฉลยออกมาตอนท้ายของงาน
การที่งานจบแบบนี้เป็นการตอบข้อสมมุติฐานที่ผมได้ตั้งไว้ในตอนแรก ( ถ้าไม่ผิดก็คงถูกอ่ะคับ )แต่เรื่องการเขียนโปรแกรมกับรหัส login ที่จะให้คนดูได้มีการร่วมในตัวงานด้วยนั้นต้องขอเวลาไปศึกษาสักนิด ( ถ้าทำได้ก็คงสนุกอ่ะคับ )
*รูปแบบของงานชิ้นนี้เป็นการวางแผนงานแบบยังไม่สมบูรณ์ อาจจะมีรูปแบบอื่นที่ดูลงตัวและสมเหตุสมผลมากกว่านี้ก็คงต้องทดลองต่อไปครับ*
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment